วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การฝึกงาน มีความสำคัญอย่างไร




การฝึกงานจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาในชั้นปีสุดท้าย เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะในด้านการทำงานเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่โลกแห่งการทำงานที่แท้จริง ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณสามเดือนในช่วงปิดภาคเรียนในการฝึกปฏิบัติงาน ตามหลักแล้วการฝึกงานก็คือ การฝึกทักษะในการบริหารและการจัดการในการทำงานภายในองค์กรต่างๆ เช่น บริษัทน้ำมันหรือแก๊ส การออกแบบภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ดังนั้นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะเลือกฝึกงานในบริษัทที่อยู่ภายในท้องถิ่นหรือต่างถิ่น ขึ้นอยู่กับสาขางานที่ต้องการเข้ารับการฝึกอบรม

แล้วจะฝึกงานกับหน่วยงานใดและได้สิ่งใดตอบแทน?

บริษัทที่มั่นคงส่วนใหญ่จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าไปฝึกงาน โดยต้องมีหนังสือส่งตัวจากทางสถาบันเพื่อเข้ารับการฝึกงาน ในกรณีนี้ ทางบริษัทจะให้นักศึกษาเรียนรู้และฝึกทำงานอย่างแท้จริง แล้วพิจารณาจ้างงานนักศึกษาเหล่านั้นหลังจากที่สำเร็จการศึกษา

ไม่ต้องกังวลว่าทุกบริษัทจะรับนักศึกษาฝึกงานจำเพาะที่มีหลักสูตรการเรียนบังคับไว้เท่านั้น มีองค์กรมากมายที่เปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจเข้าศึกษาหาความรู้ในการทำงานถ้าหากให้ความสนใจอย่างจริงจัง โอกาสเหล่านี้มักจะเปิดให้กับนักศึกษาในสถาบันต่างๆเป็นอันดับแรก ดังนั้นควรติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางมหาวิทยาลัยอยู่เสมอ

ควรจะเริ่มต้นจากตรงไหน?

นักศึกษาที่พร้อมสำหรับการทำงานมักจะมุ่งความสนใจไปที่การสมัครงานผ่านทางอินเตอร์เน็ต “เช่นที่ผู้ฝึกงานทั้งหลายพึงกระทำในช่วงเวลาที่ผ่านมา ขอแนะนำว่าให้ค้นหาบริษัทต่างๆที่เหมาะสำหรับตนเอง เช่น สนใจในด้านวิศวกรรม หรือการออกแบบสำหรับการทำเว็บไซต์ คุณสามารถค้นหาบริษัทที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้ได้ถึง 15- 20 บริษัทในเขตพื้นที่ที่อาศัยอยู่ เพียงแค่ติดต่อกับฝ่ายบุคคลของบริษัทที่คุณสนใจผ่านทางโทรศัพท์เพื่อสอบถามข้อมูลในการสมัครเข้ารับการฝึกงาน” พอล์ล ในวัย 22 ปีกล่าว

คำถามอื่นๆที่จำเป็น:

? มีบริษัทที่เปิดรับนักศึกษาฝึกงานจากต่างชาติหรือไม่? (ในกรณีที่ศึกษาอยู่ต่างประเทศ หรือต้องการไปฝึกงานยังต่างประเทศ)

? มีค่าตอบแทนสำหรับการฝึกงานหรือไม่ และต้องทำอะไรบ้าง? (มักจะไม่ใช่ “งานที่ยุ่งอยู่ตลอดเวลา” การฝึกงานมักจะเป็นการทำหน้าที่ประทับตรา หรือส่งแฟกซ์เป็นส่วนใหญ่)

เมื่อสามารถค้นหารายชื่อบริษัทที่ตนเองสนใจได้แล้ว (1) เสนอขอฝึกงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง และ (2) สอบถามข้อแลกเปลี่ยนจากการฝึกงาน ควรจะสอบถามข้อมูลให้ครบทุกด้าน เมื่อทำการสมัครงานเรียบร้อยแล้ว ควรหมั่นติดตามผลการสมัคร บางบริษัทจะมีแบบฟอร์มการสมัครงานของตนเอง แต่ส่วนใหญ่มักจะต้องการให้ผู้สมัครส่งเอกสารและข้อมูลของตนเองเข้ามามากกว่า

เมื่อส่งจดหมายสมัครงานเข้าไปแล้ว ต้องมีการติดตามผลการสมัครโดยโทรสอบถามข้อมูลการสมัครจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับเอกสารในการสมัครงานจากเราเรียบร้อยแล้ว

ลักษณะการฝึกงานที่แท้จริงเป็นอย่างไร?

นักศึกษาหลายคนที่เข้าไปฝึกงานแล้วพบว่า เป็นประสบการณ์ที่น่าเบื่อหน่าย เนื่องจากไม่ได้ทำงานอย่างจริงจัง ในกรณีนี้จะเกิดขึ้นกับบริษัทที่ผู้ให้การฝึกสอนไม่มีเวลาหรือบริษัทมีงานน้อย แต่ถ้าคุณมีการคัดสรรค์บริษัทที่จะเข้าไปฝึกงานอย่างดีแล้ว จะพบว่าตนเองได้รับประสบการณ์ที่มีค่าทั้งในด้านการทำงานและสังคมของการทำงาน

“การฝึกงานคือ โอกาสที่ดีในการค้นหาว่าสาขาที่คุณสนใจนั้นเหมาะสมกับตนเองหรือไม่ เพียงแค่เลือกสิ่งที่ตนเองสนใจ แล้วลงมือดำเนินการตามนั้น” แอนเดรีย ชุง วัย 20 ปีกล่าว

บางครั้งอาจจะต้องประหลาดใจเมื่อพบว่า “ตอนที่เข้ามาทำครั้งแรก ฉันคิดว่าตนเองสนใจในด้านนี้มาก แต่หลังจากได้ทดลองฝึกงานแล้ว ฉันคิดว่าตนเองเหมาะสมกับงานวิศวกรรมมากกว่า มันคือประสบการณ์ที่ทำให้ค้นพบการทำงานที่ต้องการ และเริ่มร่างภาพการทำงานในอนาคตของตนเอง” ตามความเห็นของโมฮัมเหม็ด ไอดริส วัย 21 ปี

สำหรับคนอื่นๆ เช่น โมอัน วัย 20 ปี เห็นว่าการฝึกงานเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆในการทำงาน “ถ้าคุณโชคดี อาจจะได้ทำงานที่เหมาะสมกับตนเองอย่างยิ่ง ในยุคของการใช้เทคโนโลยีในการทำงานเช่นนี้”

ในด้านสังคม เนื่องจากการฝึกงานมีการคัดเลือกนักศึกษามาจากหลากหลายมหาวิทยาลัย บางครั้งก็หลายประเทศ ทำให้มีโอกาสได้พบกับบุคคลมากมาย ได้แลกเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานกับผู้ที่ฝึกสอนงานให้ ซึ่งอาจจะได้เรียนรู้ทักษะในการจัดการและการทำงานร่วมกับผู้อื่นจากเขาอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเครือข่ายให้กับตนเอง ถ้าหากในอนาคตต้องการเข้ามาร่วมงานกับบริษัทนี้อีกครั้ง

นั่นจะเป็นการทำให้เกิดช่องว่างในการเรียนหรือไม่?

การใช้เวลาทุ่มเทให้กับการฝึกงานจะทำให้ช่องว่างระหว่างการทำงานและการศึกษาหรือไม่? ในความเป็นจริงแล้ว บริษัทต่างๆเปิดรับสมัครผู้ที่ต้องการทำงานประจำมากกว่าต้องการผู้ที่จะมาฝึกงานเสียอีก ดังนั้นจำนวนผู้ที่เข้ามาฝึกงานนั้นมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับพนักงานประจำ

ในมุมมองของนายจ้าง การฝึกงานทำให้ผู้สมัครที่ผ่านการฝึกงานมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าผู้สมัครที่ไม่เคยสัมผัสกับโลกของการทำงานที่แท้จริง นอกจากนั้นการฝึกงานยังเป็นข้อบ่งบอกถึงประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้สมัครอีกด้วย

สำหรับผู้ที่ไม่เคยเข้ารับการฝึกงาน จะสามารถทำให้ตนเองเท่าเทียมกับผู้อื่นได้อย่างไร? ไม่จำเป็นต้องมองในมุมนั้นเสมอไป แต่สามารถใช้ทักษะอื่นๆทดแทนได้

คาเรน โทห์ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลท่านหนึ่ง กล่าวว่า “การคัดเลือกผู้สมัครจะมีอยู่สองประเภท อันแรกคือ การทำงานประจำกับงานชั่วคราว การฝึกงานไม่ใช่สิ่งที่ใช้ตัดสินคัดเลือกผู้สมัคร ฉันรู้ดีว่าผู้ฝึกงานบางท่านไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการฝึกงานเลย หรือได้ประสบการณ์จากการทำงานน้อยมาก และยังทราบอีกว่า ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์บางท่านมีโอกาสาในการเลือกทำงานได้มากกว่า โดยอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผลการเรียน ประสบการณ์ที่มี ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของแต่ละคน”

จำไว้เสมอว่าต้องมีความสุขกับการทำงาน!

เพราะต้องการมีอนาคตในการทำงานที่มั่นคง นักศึกษาส่วนใหญ่จึงมักกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ คำแนะนำนี้จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งที่จะทำให้รู้จักสร้างโอกาสให้กับตนเอง แต่ในปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ก็มักจะมีการแนะแนวทางในการประกอบอาชีพสำหรับนักศึกษาอยู่แล้ว การทำงานนั้นแตกต่างเกมการเล่นฟุตบอล หลายๆท่านหวนกลับมามองอดีตและคิดว่าช่วงเวลาที่เรียนในมหาวิทยาลัยคือ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของชีวิต ดังนั้นต้องทำให้โลกภายนอกสมดุลกับช่วงเวลาเหล่านั้นด้วย

ขอยกตัวอย่างผู้ที่สามารถทำเช่นนั้นในความเป็นจริงได้ นั่นคือ “ฉันเคยผ่านเข้าสู่การสัมภาษณ์งานครั้งหนึ่ง ไม่ใช่ในตำแหน่งนักศึกษาฝึกงาน ฉันเริ่มต้นจากจุดนั้น ตัดสินใจใช้ช่วงเวลาในระหว่างปิดเทอมภาคฤดูร้อนเพื่อทำงาน ฉันพบว่ามันเป็นช่วงเวลาที่น่าจดจำมาก หลังจากนั้น ฉันก็กลับมาทำงานอีกครั้งด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมา (โดยมีผู้ที่สนใจประสบการณ์เฉพาะตัวของฉันให้โอกาส) และก็ได้ทำงานที่ดีในปีนั้น ดังนั้นอย่าเคร่งเครียดกับสิ่งต่างๆมากเกินไป จำไว้ว่าควรจะได้รับความสุขจากการทำสิ่งต่างๆในชีวิตของเราด้วย”


วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นักบัญชีที่ดี

คุณสมบัติของนักบัญชีที่ดี

เมื่อกล่าวถึงนักบัญชี ทุกคนคงนึกถึงคนที่ต้องทำงานคลุกคลีอยู่กับตัวเลข และเอกสารหลักฐานต่างๆ ทางการเงิน ของบริษัทเป็นคนที่มียึดมั่นในหลักการ และทำตามขั้นตอนที่เป็นแบบแผนอยู่ตลอดเวลา สำหรับผู้ที่เรียนมาทางด้านการบัญชี และต้องการทำงานด้านนี้ คำแนะนำเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักบัญชีที่ดีที่จะกล่าวต่อไปนี้นักบัญชีทั้งหลายพลาดไม่ได้โดยเด็ดขาด




ซื่อสัตย์ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เนื่องจากนักบัญชีจะรับทราบตัวเลขความเคลื่อนไหวทางการเงินของบริษัทอยู่ตลอดเวลา นักบัญชีที่ดีจะไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ทางการเงินของบริษัทเด็ดขาด
ขยัน อดทน รับผิดชอบงานในหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นนักบัญชีกลับบ้านดึกกว่าแผนกอื่นเสมอ
ละเอียดรอบคอบ ถี่ถ้วน ในการมอบหรือรับมอบเอกสารเกี่ยวกับการเงิน ควรเรียกเก็บหลักฐานทางการเงิน และตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้ง ควรจัดเก็บเอกสารการเงิน การบัญชีทุกฉบับไว้ในที่ปลอดภัย ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
มีความรู้แน่นภาคทฤษฎี และประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจได้ นักบัญชีจำเป็นต้องนำทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขได้อย่าง
ถูกต้องแม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัท และนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับธุรกิจได้ด้วย
สร้างแรงกดดันให้ตนเอง ในการทำงานควรมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และหาวิธีที่จะทำให้ได้ตามเป้า นอกจากนั้น นักบัญชียังสามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา ด้วยการกำหนดเวลาในการทำงานให้สั้นลง หรือขอทำงานที่ยากขึ้นเรื่อยๆ
กล้านำเสนอ แนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโชน์ต่อบริษัท รวมทั้ง รีบแจ้งผู้มีอำนาจทราบทันที เมื่อพบการทุจริต หรือความเสียหายใดๆ
ทบทวนตนเองทุกปี ตั้งคำถามว่าตนเองต้องการอะไร และในปีที่ผ่านมาทำอะไรไปแล้วบ้าง ยังมีอะไรที่ต้องทำอีกบ้าง มีอะไรที่ผิดพลาดบ้าง เพื่อหาทางแก้ไข และปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกเป็นครั้งที่สอง
เปิดรับเทคโนโลยี ข้อมูล ข่าวสาร และสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา นักบัญชีควรหาโอกาสพูดคุยพบปะกับคนในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด และเข้าใจวิธีการทำงานของคนอื่น รวมทั้งหมั่นศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการบัญชี และภาษีอากรที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ
คุณสมบัติเหล่านี้ ไม่ได้มีติดตัวมาแต่กำเนิดแต่อย่างใด หากใครใฝ่ฝันอยากเป็นนักบัญชีที่ดีแล้วล่ะก็เริ่มต้นสร้างมันตั้งแต่วันนี้ ไม่มีสิ่งใดยากเกินความตั้งใจ
ของเราอยู่แล้ว

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผู้สอบบัญชี TA กับผู้สอบบัญชี CPA

ในปัจจุบันผู้ที่สามารถทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีตาม มาตรา 3 สัตต แห่ง ประมาวลรัษฎากร ในฐานะผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ได้แก่บุคคล ดังต่อไปนี้

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบ บัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีบัญชี ทั้งนี้ตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร

การปฏิบัติ
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
1.การขึ้นทะเบียน ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544ฯ ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547
2.สิทธิในการปฏิบัติงาน สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท) สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
3.หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก ปฏิบัติงานตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดสำหรับตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่
ปฏิบัติงานตามที่อธิบดี กรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบและรับรองลัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
4.การรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่
จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นนิติบุคคลขนาดเล็ก

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หลัก ๘ ประการของการดูเเลสุขภาพ



๑. รับประทานอาหาร อย่างถูกต้องเหมาะสม
อาหารเช้า
สำคัญมากเพราะช่วงเช้าร่างกายขาดน้ำตาล ถ้าไม่รับประทานอาหารเช้าจะเกิดภาวะขาดน้ำตาลซึ่งจะมี
ผลทำให้ความคิดตื้อตันไม่ปลอดโปร่ง วิตกกังวล ใจสั่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด โมโหง่าย มื้อเช้ารับประทานได้เช้า
ที่สุดยิ่งดี (ระหว่างเวลา ๖.๐๐ – ๗.๐๐ น.) เพราะท้องว่างมานาน หากยังไม่มีอาหารให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำข้าวอุ่น ๆ
ก่อน ควรทานข้าวต้มร้อน ๆ จะช่วยให้ง่ายต่อการขับถ่ายอุจจาระ ถ้าจำเป็นต้องรับประทาน(สาย) ใกล้อาหารมื้อ
กลางวัน อย่ารับประทานมาก
อาหารเพล (อาหารมื้อกลางวัน)
ควรเป็นอาหารหนัก เช่น ข้าวสวย พร้อมกับข้าวครบ ๕ หมู่ เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมาก และควร
รับประทานให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย

๒. ขับถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ สม่ำเสมอทุกวัน
๓. ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม กับฤดูกาล เช่น หน้าหนาวก็ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ สวมหมวก ถุงมือ ถุงเท้า
ขณะนอนตอนกลางคืนควรห่มผ้าปิดถึงอก
๔. ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายกลางแจ้งทุกวัน
๕. รักษาความสะอาดของสถานที่พักอาศัย เพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมดี อากาศดี
๖. รักษาอารมณ์ให้ปลอดโปร่ง แจ่มใสตลอดทั้งวัน และอย่าลืมนั่งสมาธิทุกวัน
๗. พักผ่อนให้เพียงพอ เหมาะสมกับเพศ และวัยไม่ควรนอนดึกเกิน ๒๒.๐๐ น. ติดต่อกันหลายวัน
๘. มีท่าทาง และอิริยาบถที่ถูกต้องเหมาะสม ในการทำงานในชีวิตประจำวัน

บัญญัติ 10 ประการในการวางระบบบัญชี บัญญัติ 10 ประการในการวางระบบบัญชี

1. อย่าทำการวางระบบบัญชีหรือปรับปรุงตามแฟชั่นหรือตามอย่างผู้อื่น โดยไม่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง เนื่องจากการวางระบบจะต้องมีความครบถ้วนถูกต้องของรายการที่เกิดขึ้น การกระทำการใด ๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงการบันทึกรายการบัญชีด้วยวัตถุประสงค์ใด ๆ ก็ตามเป็นการเสี่ยงต่อความสูญเปล่าทั้ง ความพยายาม ความตั้งใจ เวลา และทรัพย์สินเงินทอง เนื่องจากจะได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงเพื่อใช้ในการบริหารงาน

2. การวางระบบบัญชีที่ดีนั้นจะต้องมีการสอดคล้องไปกับธรรมชาติของการทำงาน และการดำเนินธุรกิจที่เป็นจริง ระบบต่าง ๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาจะต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการดำเนินงาน ไม่ทำให้เกิดการผิดพลาดได้อย่างง่ายดาย และผู้ใช้งานข้อมูล ผู้บริหาร หรือเจ้าของกิจการ ควรจะรู้ความต้องการของตนเองก่อนที่จะให้ผู้วางระบบบัญชีทำการวางระบบบัญชี เพื่อที่จะให้การวางระบบสามารถรองรับความต้องการของผู้บริหารหรือเจ้าของ กิจการได้

3. ระบบบัญชีที่มีการควบคุมภายในอย่างดี เยี่ยมสามารถป้องกันการทุจริตอย่างได้ผลในทุกเรื่อง อาจไม่ใช่ระบบบัญชีที่ดีที่สุดเสมอไป แต่ระบบบัญชีที่ดีนั้นหมายถึง ระบบบัญชีที่มีความสอดคล้องกับการทำงานและมีการควบคุมภายในที่เหมาะสมกับ สภาพการดำเนินธุรกิจและขนาดของกิจการนั้นๆ รวมถึงจะต้องสอดคล้องต่อนโยบายในการดำเนินกิจการด้วย ดังนั้นระบบบัญชีที่เหมาะสมใช้งานได้ดีในกิจการแบบเดียวกันแห่งหนึ่ง อาจไม่สามารถใช้ได้ดีกับอีกแห่งหนึ่งก็ได้

4. ระบบบัญชีที่ดีจะต้องมีการเสนอรายงานตามระยะเวลาที่เหมาะสม การเสนอรายงานบางอย่างช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็นแม้เพียงชั่วเวลาเดียว คุณค่าของรายงานอาจจะเหลือเท่ากับศูนย์ หรือรายงานที่มากเกินไปจะทำให้เกิดการสับสน และแบ่งแยกความสนใจในรายงานที่สำคัญไป

5. ควรเลิกเชื่อว่าระบบบัญชีและการทำงานต่าง ๆ ควรจะกำหนดหรือวางรูปแบบ มาจากฝ่ายบัญชีหรือนักบัญชี หรืิอหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น แต่การวางระบบบัญชีจำเป็นต้องใช้ศิลปและศาสตร์หลายแขนง ดังนั้น การวางระบบบัญชีที่ดีและเหมาะสมกับกิจการจะต้องเกิดจากการรวมตัวของแผนก ต่าง ๆ ในบริษัท และนักบัญชีที่มีประสบการณ์ ทั้งบัญชีการเงิน บัญชีบริหาร บัญชีต้นทุน และบัญชีภาษีอากร

ผู้วางระบบบัญชีหรือฝ่ายบัญชีจะต้องเป็นผู้มีใจกว้าง ยอมรับคำแนะนำหรือ ข้อขัดแย้งจากผู้อื่นและจะต้องได้รับการยอมรับจากทุกๆ ฝ่ายโดยเฉพาะผู้บริหาร สามารถประสานงานและอธิบายเหตุผลต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน กรณีที่ฝ่ายบัญชีไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ อาจต้องพึ่งพาบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติมาชดเชย

6. ไม่มีระบบบัญชีใดที่สามารถใช้ได้ตลอดไปโดยไม่มีการปรับปรุงให้เหมาะสมตามระยะเวลา เมื่อมีการใช้งานไประยะเวลาหนึ่งจะมีการเรียนรู้ถึงจุดอ่อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยผู้ปฎิบัติงาน ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของระบบลดลง ดังนั้นจึงควรมีการประเมินเป็นระยะ ๆ ว่าระบบบัญชีนั้นยังคงเหมาะสมที่จะใช้ในการปฎิบัติต่อไปหรือไม่ หรือถึงเวลาที่จะต้องทำการปรับปรุงให้เหมาะสม

7. ในสภาพการดำเนินธุรกิจปัจจุบันที่การแข่งขันสูง การลดขั้นตอนการดำเนินการเพื่อให้กิจการดำเนินธุรกิจ หรือสามารถบริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว อาจก่อให้เกิดการบกพร่องในการควบคุมภายในบางประการ ซึ่งการบกพร่อง หรือความจำเป็นในการแข่งขันนั้นๆ สามารถแก้ไขหรือทดแทนได้โดยใช้เทคโนโลยีและวิทยาการคอมพิวเตอร์มาช่วยอย่าง ได้ผล แต่ไม่ใช่ในทุกกรณี

8. การใช้ระบบเทคโนโลยี และวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ที่จะช่วยในการทำงานและลดข้อบกพร่องบางประการควรคำนึงถึงความเหมาะสมและความ คุ้มค่าของการลงทุนต่าง ๆ ด้วย

9. ไม่มีระบบบัญชี ใด ๆ ที่สำเร็จรูป เช่นเดียวกับซอฟแวร์บัญชีที่เหมาะสมกับทุกกิจการ ดังนั้นการวางระบบบัญชีจะต้องใช้เวลาในการติดตามผลและแก้ไขระบบบัญชีและ เอกสารที่จัดทำในขั้นต้นให้เหมาะสมกับการทำงานของกิจการเพื่อให้พนักงานทำ ความเข้าใจและทดสอบการทำงานของระบบบัญชีอย่างน้อยหนึ่งไตรมาส หรือนานกว่านั้น ก่อนทำเป็นคู่มือระบบบัญชีเพื่อใช้ในการอ้างอิงต่อไป เนื่องจากสภาพการดำเนินธุรกิจในบางประเด็น ปัญหาอาจเกิดจากความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้ใช้ข้อมูลหรือผู้บริหาร หรือเกิดจากสภาพการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป หรือบางครั้งอาจเกิดปัญหาในรายละเอียดการปฎิบัติงานขึ้นภายหลัง ซึ่งอาจต้องมีการปรับปรุงระบบบัญชีและเอกสารให้เหมาะสม ซึ่งการปรับปรุงจะต้องมีการกระทำร่วมกับผู้ใช้ข้อมูลหรือผู้ปฎิบัติงาน

10. ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการควรจะมีการประเมินความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ของการบกพร่องต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ว่าสามารถรับได้ที่จุดใด เมื่อเทียบกับการลงทุนที่จะเกิดขึ้นรวมถึงความพึงพอใจจากลูกค้า ที่จะได้รับบริการที่เร็วขึ้น และการทำงานได้อย่างรวดเร็วของพนักงาน ถ้าประเมินแล้วมีความเสี่ยงมากกว่าที่ยอมรับได้อาจจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ระบบบัญชีและการควบคุมภายในใหม่


ที่มา : www.108acc.com

คุณสมบัติของนักบัญชีที่ดี

1.ซื่อสัตย์ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เนื่องจากนักบัญชีจะรับทราบตัวเลขความเคลื่อนไหวทางการเงินของบริษัทอยู่ตลอดเวลา นักบัญชีที่ดีจะไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ทางการเงินของบริษัทเด็ดขาด
2.ขยัน อดทน รับผิดชอบงานในหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นนักบัญชีกลับบ้านดึกกว่าแผนกอื่นเสมอ
3.ละเอียดรอบคอบ ถี่ถ้วน ในการมอบหรือรับมอบเอกสารเกี่ยวกับการเงิน ควรเรียกเก็บหลักฐานทางการเงิน และตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้ง ควรจัดเก็บเอกสารการเงิน การบัญชีทุกฉบับไว้ในที่ปลอดภัย ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
มีความรู้แน่นภาคทฤษฎี และประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจได้ นักบัญชีจำเป็นต้องนำทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขได้อย่าง
4.ถูกต้องแม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัท และนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับธุรกิจได้ด้วย
5.สร้างแรงกดดันให้ตนเอง ในการทำงานควรมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และหาวิธีที่จะทำให้ได้ตามเป้า นอกจากนั้น นักบัญชียังสามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา ด้วยการกำหนดเวลาในการทำงานให้สั้นลง หรือขอทำงานที่ยากขึ้นเรื่อยๆ
6.กล้านำเสนอ แนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโชน์ต่อบริษัท รวมทั้ง รีบแจ้งผู้มีอำนาจทราบทันที เมื่อพบการทุจริต หรือความเสียหายใดๆ
7.ทบทวนตนเองทุกปี ตั้งคำถามว่าตนเองต้องการอะไร และในปีที่ผ่านมาทำอะไรไปแล้วบ้าง ยังมีอะไรที่ต้องทำอีกบ้าง มีอะไรที่ผิดพลาดบ้าง เพื่อหาทางแก้ไข และปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกเป็นครั้งที่สอง
8.เปิดรับเทคโนโลยี ข้อมูล ข่าวสาร และสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา นักบัญชีควรหาโอกาสพูดคุยพบปะกับคนในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด และเข้าใจวิธีการทำงานของคนอื่น รวมทั้งหมั่นศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการบัญชี และภาษีอากรที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. ๑๙๔/๒๕๕๕
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
ของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
__________________
  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖ และข้อ ๕ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ ๒) เรื่อง กำหนดระเบียบเกี่ยวกับ การตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ดังต่อไปนี้

                   ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามข้อ ๓ ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.๑๒๒/๒๕๔๕ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕
                   ข้อ ๒ ให้ใช้แบบรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีท้ายคำสั่งนี้เป็นแบบรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามข้อ ๓ ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.๑๒๒/๒๕๔๕ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ แทน
                 ข้อ ๓ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคำสั่งนี้เป็นต้นไป