วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คุณสมบัติของการเป็นนักบัญชีที่ดี

คุณสมบัติของการเป็นนักบัญชีที่ดี
๑.หัดคิดให้มากขึ้น เมื่อเวลาเราคิดเราจะเฉียบแหลมขึ้นเรื่อยๆ
๒.อย่าเอาแต่ถาม หัดค้นคว้าเอง เนื่องจากการค้นคว้าทำให้ต้องอ่าน และเมื่ออ่านจะรู้มากกว่าที่จะถาม
๓.พยายามเผชิญปัญหาในความคิดแบบบวก ประเภทข่มใจได้เมื่อภัยมา พยายามคิดเสมอว่า ทุกปัญหามีทางออก ไม่ใช่ ทุกทางออกมีปัญหา
๔.หัดกำหนดเป้าแล้วหาวิธีที่ทำให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้พยายามทำให้ได้ตามเป้า อย่างทิ้งกลางคัน ถ้าทำตามเป้าได้ ให้ตั้งเป้าใหม่ ให้ยากๆไปเลย แล้ว REVISE เป้าทุกเวลาที่กำหนด
๕.หัดทบทวนตัวเอง ทุกๆปีเราควรทบทวนตัวเองว่าที่ทำมาเป็นอย่างไรพลาดอะไร และควรจะแก้ไขอย่างไร เราควรตั้งใจว่าจะไม่ทำอะไรผิดซ้ำสองในเรื่องเดียวกัน
๖.เราควรเข้าใจตัวเอง ลองดูตัวเองแล้วตั้งคำถามให้ตัวเองว่าต้องการอะไร ควรจะลองปลีกวิเวกทบทวนตัวเองบ้าง เพื่อจะคิดว่าเราต้องการอะไร และที่ผ่าน มาทำอะไรไปแล้วบ้าง
๗.อย่าหัดเป็นคนที่ปล่อยอะไรเลยตามเลย เมื่อเห็นปัญหาอยู่ข้างหน้าอย่าปล่อย ให้ทุกอย่างเป็นอย่างที่เห็น ควรจะเข้าไปพยายามแก้ปัญหา
๘.หัดเป็นคนมุ่งมั่น เมื่อเราเห็นระบบที่ไม่ดี ควรพยายามทำให้สำเร็จ อย่าคิดว่า มันยากที่จะเป็นระบบ บริษัทส่วนใหญ่มีความเป็นระบบเพียงแต่มันไม่ดีพอเท่าที่ เราต้องการ ฉะนั้นถ้าเราต้องการอย่างไรก็ควรพยายามทำให้เป็นไปตามที่คิด ถ้าเราคิดว่าระบบบริษัทไม่ดีพอ เรามี flow chart ระบบงานอยู่ในมือหรือยัง ถ้ายังเราควรรู้ไว้ว่าเราไม่ควรบ่น เพราะเรามีส่วนอย่างยิ่งที่ทำให้บริษัทไม่เป็นระบบ
๙.อย่ามุ่งหวังแต่ผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ถ้าคุณสามารถทำงานสำเร็จ หรือทำให้ บริษัทดีขึ้น เพราะเราได้เรียนรู้ได้ลองทำ รวมถึงความสำเร็จจะสร้างความมั่นใจ อย่างมหาศาลให้กับเราเพื่อจะเดินต่อไปในอนาคต
๑๐.เราควรแยกระหว่างถูกต้องกับถูกใจออก ถ้าเราคิดได้ว่าบัญชีคืออาชีพ ก็ไม่จำเป็นต้องคิดให้ชอบมัน แต่ขอให้คิดว่าทำมันให้ดีที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ ก็พอ
๑๑. หัดคุยหรือพบปะกับคนในวิชาชีพเดียวกัน เราควรจะเข้าสัมมนาหรือ เรียน เพิ่มเติม เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนความคิดกับคนอื่นบ้าง จะได้เข้าใจวิธีคิดวิธีทำงาน ของคนอื่นบ้าง
๑๒.หัดเป็นคนสู้ กระเสือกกระสน ถ้าคนเรามีสองอย่างนี้จะไม่มีคำถามที่เกี่ยวกับ ความไม่รู้ ความไม่มั่นใจในตัวเอง และกระโจนเข้าหาปัญหาอย่างไม่กลัว
๑๓.เราควรพัฒนาตัวเองให้มาก ให้มีความแม่นยำในความรู้ทางด้านวิชาชีพ ควรหาวารสารวิชาชีพอ่าน
๑๔.เราควรเรียนต่อ ถ้าเราเติบโตก้าวหน้าในอาชีพการงานและไม่มีความรู้ ในเชิงบริหารคงลำบาก เพราะฉะนั้นควรเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ พยายามเรียนไปทำงาน ไปเอาความรู้ที่เรียนมาใช้กับงาน ถ้าทำไม่ได้จะได้ถามอาจารย์ว่า จะต้องทำ อย่างไร เพราะการศึกษาต่อนอกจากเราจะได้เพิ่มวุฒิ ได้ความรู้ เรายังได้ ที่ปรึกษาชั้นดีที่ยินดีจะให้คำปรึกษาทุกเรื่อง
๑๕.หัดปิดสวิทช์ความคิดในสมองให้เป็น เพื่อที่จะสามารถทำงานได้มากกว่า หนึ่งอย่าง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ KEY MANAGER ที่ดี
๑๖.ต้องอดทนงานทุกอาชีพมันมีความน่าเบื่อทั้งนั้น เวลาทำงานแล้วถึงได้ ทำในสิ่งที่ชอบ ถ้าต้องทำเป็นงานหาเงินแล้วมันก็ไม่สนุก
๑๗.อย่าประเมินตัวเองสูงเกินไป เพื่อที่จะไม่ประมาท และสร้างแรงจูงใจใน การทำงาน (แต่อย่าท้อ)
๑๘.หัดลองคิดว่ามันไม่มีอะไรที่ง่าย แต่มันก็ไม่มีอะไรที่ยาก หัดเชื่อว่า ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ ถ้าเราพยายาม ดังนั้นไม่มีอะไรที่เราจะทำไม่ได้ ถ้าคนอื่นทำได้ เพียงแต่ว่าผลอาจจะไม่เท่ากัน ก็จงยอมรับในผลเท่าที่ทำได้
๑๙.หัดเชื่อว่าคนเรามีสมองเหมือนกัน มีเวลาเท่ากัน ถ้าเราประเมิน ตัวเราว่า สมองเราสู้เขาไม่ได้ จงเพิ่มเวลาให้มากขึ้นด้วยการบริหารเวลาให้ดีขึ้น เพื่อที่จะมีเวลามากกว่าเดิมในการศึกษาและการทำงานที่มากขึ้น
๒๐.หัดกล้าทำและยืนยันในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม บางครั้งเจ้าของกิจการที่ฉลาด มักสามารถมองข้ามปัญหาความขัดแย้ง อย่างตรงไปตรงมาได้
๒๑.หัดสร้างแรงกดดันให้ตัวเอง เช่น การกำหนดเวลาที่สั้นลง หรือขอทำงาน ที่ยากขื้นเรื่อยๆ (การทำตามข้อ ๔. ก็ถือเป็นการสร้างแรงกดดันให้ตัวเองอย่างหนึ่ง)
๒๒.สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและต้องยึดไว้ให้มั่นไม่ว่าเราจะทำ อะไร คือจรรยาบรรณวิชาชีพ เพราะมันจะทำให้เราดูตัวใหญ่ และเสียงดังขึ้น

เรื่องเก่ามาเล่าใหม่ (ความรู้ที่นักบัญชีความทราบ)

“พระราชบัญญัติการบัญชี” เมื่อหยิบยกขึ้นมาเชื่อรึเกินว่านักบัญชีทุกท่านคงผ่านตามาบ้างไม่มากก็น้อย เพื่อความเข้าใจในสายงานวิชาชีพบัญชี จึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจพระราชบัญญัติฉบับนี้

พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543  มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักบัญชีควรทราบถึงกฎหมายเกี่ยวข้องกับงานบัญชี ข้อกำหนด ระเบียบ คำสั่ง ประกาศของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกบัญชี การจัดทำงบการเงินหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัญชี ความรู้ที่นักบัญชีควรทราบ ในการจัดทำบัญชีของประเทศไทยนั้นได้ใช้กฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 เป็นเวลาค่อนข้างมาก และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมทะเบียนการค้า แต่ยังยึดคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 เป็นแม่บทของกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีจนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินธุรกิจหลายปีที่ผ่านมาอย่างรวดเร็ว ทำให้ประกาศของคณะปฏิบัติวัติฉบับที่ 285 ไม่สอดคล้องกับการจัดทำบัญชีของธุรกิจในภาวะปัจจุบัน ที่มีความก้าวหน้าในทางบัญชี ตลอดจนการจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการสากลยิ่งขึ้น “กระทรวงพาณิชย์จึงได้พิจารณาเห็นสมควรให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว โดยได้นำเสนอ “พระราชบัญญัติการบัญชี 2543” ออกมาใช้แทนภายใน 90 วันนักจากวันที่ลงประกาศในราชกิจานุเบกษา ซึ่งได้ลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 และมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไปสาระสำคัญของพระราชบัญญัตการบัญชี พ.ศ. 2543 มีดังต่อไปนี้

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ กฎหมายได้กำหนดให้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี จะเป็นผู้รับผิดชอบที่ต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนเอง ซึ่งผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ได้แก่
  1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
  2. บริษัทจำกัด
  3. บริษัทมหาชน
  4. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  5. กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
  6. ในกรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกัน ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
  7. ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ให้บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการนั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
  8. รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจให้บุคคลธรรมดาใด หรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนประกอบธุรกิจในประเทศไทยตามเงื่อนไขใด เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี โดยให้ประกาศล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือนก่อนวันใช้บังคับ
วันเริ่มทำบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี่ต้องจัดให้มีการทำบัญชีนับแต่วันเริ่มทำบัญชีดังต่อไปนี้
  1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้นได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
  2. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายตามประเทศนั้นได้เริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  3. กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ให้เริ่มทำบัญชีนับตั้งแต่วันที่กิจการร่วมค้านั้นได้เริ่มต้นประกอบกิจการ

ความก้าวหน้าของการบริหารบัญชี เปิดโอกาสสู่อาเซียน

การสัมมนา เปิดโอกาสสู่อาเซียน: ความท้าทายใหม่ทางวิชาชีพ พร้อม...หรือยัง? (สาขาวิชาชีพบริการบัญชี)

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ร่วมกับ ศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดจัดชุดการสัมมนาเรื่อง “เปิดโอกาสสู่อาเซียน: ความท้าทายใหม่ทางวิชาชีพ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับข้อตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangement : MRA) ในสาขาวิชาชีพต่างๆ ได้แก่ แพทย์  ทันตแพทย์  พยาบาล  วิศวกรรม  สถาปัตยกรรม บริการบัญชี การสำรวจ และสาขาบริการ การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการกำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพในการเข้าสู่ตลาดแรงงานอาเซียน การสัมมนานี้จะเป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายที่จะเกิดขึ้นจากข้อตกลงยอมรับร่วม(MRA) และตลาดแรงงานวิชาชีพที่เปลี่ยนแปลงไป  อันจะนำไปสู่การปรับตัวและเตรียมความพร้อมอย่างเหมาะสมต่อไป สำหรับภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา นักเรียน นักศึกษาและบุคลากรในสาขาวิชาชีพต่างๆ โดยได้กำหนดให้มีการจัดการสัมมนาในหัวข้อ “เปิดโอกาสสู่อาเซียน : ความท้าทายใหม่ทางวิชาชีพ (สาขาวิชาชีพบริการบัญชี)

ทิศทางใหม่… นักบัญชี...

ทิศทางใหม่… นักบัญชี...
รัญชิดา สังข์ดวง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ
                       ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจทวีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีส่วนทำให้ข้อมูลข่าวสารมีจำนวนมากและทำได้รวดเร็ว ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญต่อความอยู่รอดขององค์กรที่เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงาน นักบัญชีเป็นผู้จัดทำสารสนเทศทางบัญชี ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการตอบคำถามทางการเงิน ซึ่งจะช่วยให้ฝ่ายจัดการสามารถกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ของกิจการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จากสภาพดังกล่าว นักบัญชีถูกเรียกร้องให้เพิ่มพูนองค์ความรู้ต่าง ๆ คือ
                      1. การอ่านและวิเคราะห์งบกระแสเงินสด
                      2. ความรู้เรื่องตลาดเงิน ตลาดทุน และความเข้าใจในเศรษฐศาสตร์มหภาค
                                            2.1 นโยบายการเงินการคลัง
                                            2.2 การได้เปรียบคู่แข่งขัน
                                            2.3 การวิเคราะห์ทางการเงิน
                      3. เทคนิคของการวิเคราะห์งบประมาณลงทุน
                      4. การจัดหาเงินทุนระยะสั้น (สุวัจชัย เมฆะอำนวยชัย,2541 : 351 เอกสารประกอบการประชุมนักบัญชีทั่วประเทศ ครั้งที่ 16)
                      นอกจากนี้พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้มีการประกาศคุณสมบัติ และเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2543 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2543 ( รัตนา เธียรวิศิษฎ์สกุล : 2543. สรรพากรสาส์น, ตุลาคม ) กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีของบุคคลที่เป็นผู้ทำบัญชีตามที่กล่าวไว้ ดังนี้
คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี
                      ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
                      1.1 มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
                      1.2 มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้
                      1.3ไม่เคยต้องโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เนื่องจากได้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการบัญชี เว้นแต่พ้นระยะเวลาที่ถูกลงโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
                      1.4 (ก.) ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี
                      (ข.) ผู้ทำบัญชี ดังต่อไปนี้ ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี
                                            1) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่ง ณ วัน ปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียน หรือสินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมรายการใดรายการหนึ่งเกินกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ (ก)
                                            2) บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
                                            3) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
                                            4) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
                                            5) ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย
                                            6) ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
                      ทั้งนี้ หากผู้ใดเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าห้าปี แต่ไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่อธิบดีกำหนด หากประสงค์จะเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป ให้ผู้ทำบัญชีแจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งต้องยื่นภายในวันที่ 9 ตุลาคม 2543 และเมื่อผู้นั้นเข้ารับการอบรมและสำเร็จการอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนดแล้ว ให้ผู้นั้นเป็นผู้ทำบัญชีต่อไปได้เป็นเวลาแปดปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
                      นอกจากนี้ IFAC * มีความเห็นว่า นักบัญชีต้องมีการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความชำนาญทางวิชาชีพ สามารถนำความรู้มาประยุกต์กับงานได้ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้ใช้งานของนักบัญชี ดังนั้น ควรมีการกำหนดการศึกษาต่อเนื่องทางวิชาชีพ ประเทศไทยกำหนดในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ว่า " ผู้ทำบัญชีจะต้องเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีอย่างน้อยครั้งหนึ่งในทุกรอบสามปี จากสถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด "
                      จากสภาพดังกล่าว จึงควรให้ความสนใจที่จะศึกษาถึงคุณลักษณะของผู้ทำบัญชีและเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ทำบัญชีให้เป็นไปอย่างชัดเจนละมีระบบแบบแผนในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น ดังนี้จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่หน่วยงานหรือองค์กรจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาสายงานบุคคลากรกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าบุคลากรทางด้านการบัญชีมีความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสม

ความรู้ด้านการบัญชี (นักบัญชียุคใหม่)

นักบัญชียุคใหม่

นักบัญชียุคใหม่ในทรรศนะของข้าพเจ้า เป็นมุมมองอีกมุมหนึ่งของนักบัญชีที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงบทบาทไปจากเดิมโดยที่มีนักบัญชีเป็นแกนหลัก ถ้าเราพูดถึงนักบัญชีหลายคนจะนึกถึงภาพสมุห์บัญชี หรือผู้จัดการฝ่ายบัญชีที่เคร่งเครียดอยู่กับงานบัญชีบนโต๊ะทำงาน ง่วนอยู่กับตัวเลขมากมายที่แสนจะปวดหัว เน้นแต่ให้ตัวเลขสมดุลและปิดงบให้ได้ ซึ่งบางครั้งหรืออาจจะบ่อยครั้งที่ต้องมีปัญหากับหน่วยงานอื่น ๆ ในการที่จะทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาทำบัญชีทั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากต่างฝ่ายต่างก็มีบุคลิกและจุดยืนในการทำงานที่ต่างกัน เช่น ฝ่ายขายจะมุ่งที่ผลสำเร็จของงานขายฝ่ายผลิตมุ่งที่ผลผลิต ฝ่ายบัญชีมุ่งที่ความถูกต้องดังนั้นจะเห็นได้ว่า เมื่อฝ่ายบัญชีต้องทำงานร่วมกับทุกฝ่าย จึงหนีไม่พ้นที่ต้องประสบการณ์กับความหลากหลายทั้งในเรื่องของงานและปัญหาแล้วยังแถมด้วยปัญหาคน ซึ่งแต่ละท่านก็คงเข้าใจและมีประสบการณ์กันอยู่แล้ว และที่สำคัญคือมีใครบ้างที่เข้าใจรู้เห็นถึงความสำคัญของนักบัญชีว่าสำคัญยิ่งกว่าบัญชีที่หลายคนก็พูดว่า เป็นหัวใจของธุรกิจ จะเห็นได้ว่าถ้าบทบาทของนักบัญชีไม่ถูกพัฒนา และปรับเปลี่ยนทรรศนะใหม่ ก็จะมีแต่ความหดหู่อยู่ตลอดไป

          ปัจจุบันวิวัฒนาการใหม่ ๆ ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งบัญชีได้รับผลประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะ เรื่องของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือและสิ่งสำคัญยิ่งในขณะนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การที่นักบัญชีศึกษาและใช้คอมพิวเตอร์แล้วจะเรียกว่าเป็นนักบัญชียุคใหม่ ตามยุคของคอมพิวเตอร์ เพราะ" นักบัญชียุคใหม่จะต้องมีโลกทรรศน์ที่กว้างขึ้น รอบรู้มากขึ้น และสิ่งเหล่านี้ก็มิได้มีสอนอยู่ในสถาบันการศึกษาแห่งใด หากแต่จะเรียนรู้ได้จากห้องประชุมและห้องสัมมนา ซึ่งถือเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีมาก หรือเรียนรู้จากประสบการณ์ " หรือเรื่องราวต่าง ๆ รอบตัวเรา การเรียนรู้ต่าง ๆ นอกจากการบัญชีเป็นสิ่งจำเป็นมากในการนำมาใช้เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถลดปัญหาข้อขัดแย้งได้ เช่น ถ้าเราเรียนรู้ถึง

                                     เรื่องคนและพฤติกรรม                 เรื่องเทคนิคการแก้ปัญหา
                                     เรื่องจิตวิทยาในการโน้มน้าว        เรื่องคุณสมบัติของการเป็นผู้นำ
                                      เรื่องเทคนิคการพูดในที่ชุมชน      เรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย
  
          ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ค่อยจะเกี่ยวกับวิชาบัญชี แต่ก็มีความสำคัญมากต่อการทำงาน เพราะผู้ที่รอบรู้มากกว่าจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบกว่า แล้วเราก็นำวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ มาผสมผสานกับงานบัญชีก็สามารถที่จะทำให้ฝ่ายบัญชีและผู้ทำบัญชีเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
          ความสนใจในสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเป็นสิ่งสำคัญอีกเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อที่เราจะเป็นผู้มีความรู้ความคิดอ่านมากขึ้นไปกว่าจะเป็นนักบัญชีเต็ม 100% ไม่ใช่ว่าพอเข้ากลุ่มก็จะเกาะกลุ่มแต่นักบัญชีหรือจะคุยเก่งแต่เรื่องของบัญชีนักบัญชียุคใหม่ต้องคุยได้หลายเรื่อง ต้องทันสมัย เช่น เรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่เจ็ด บอกให้ทราบถึงนโยบายในเรื่องการเงินการคลังของประเทศอย่างไรบ้าง ทำไมจึงต้องมีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จากแผน 1จนถึงแผน 7 การนำนโยบายมาปฏิบัติตามแผนเป็นไปได้กี่เปอร์เซนต์ และหากรัฐบาลไม่นำนโยบายตามแผนไปสู่การปฏิบัติ จะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง อย่างนี้เป็นเรื่องทั่วไปที่นักบัญชีควรจะรับทราบและทำความเข้าใจและเรื่องภายในองค์กรที่เราปฏิบัติหน้าที่เราก็ควรทำความเข้าใจไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านการตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และอื่น ๆ ความรู้รอบตัวต่าง ๆ เหล่านี้นักบัญชีสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานได้ด้าย เช่นนำมาใช้ในจัดทำงบประมาณประจำปีขององค์กร และยังใช้เป็นบทสนทนาได้ในระหว่างอยู่ในสังคม

          นอกจากความรอบรู้และความสนใจแล้ว นักบัญชียุคใหม่ยังต้องเป็น นักวางแผนและมองการณ์ไกล เพราะสิ่งนี้จะทำให้เราก้าวไปข้างหน้าก่อน ซึ่งเราพอจะรู้ถึงแนวทาง และปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เราก็สามารถศึกษาหาวิธีการต่าง ๆ เตรียมไว้แก้ไข หรือวางแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับแผน เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ในวันหน้า เช่นการวางแผนภาษี หลายคนคิดว่าเรื่องการวางแผนภาษีเป็นเรื่องของนักกฎหมาย แต่หากนักบัญชีต้องการจะทำหน้าที่นี้ก็สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการวางแผนภาษีก็ต้องทำให้สอดคล้องกับการจัดทำบัญชี การจัดทำบัญชีก็ต้องให้สอดคล้องกับการวางแผนภาษี

          การประชาสัมพันธ์และการนำเสนอ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นักบัญชี ยุคใหม่จะต้องให้ความสำคัญ หากนักบัญชีเป็นนักประชาสัมพันธ์และนำเสนองเป็นตัวนำเสนอที่มีคุณภาพ ประตูสำคัญที่จะเปิดให้ผู้อื่นได้รับรู้และยอมรับผลงานของฝ่ายบัญชีก็จะมีมากขึ้น เนื่องจากเรามีความรู้ความสามารถตลอดจนการวางแผนได้แล้ว ถ้าเราไม่ชี้แจงหรือชักชวนผู้อื่นให้เห็นด้วยและให้ความร่วมมือด้วยแล้ว เราก็คงจะทำงานด้วยความยากเกิดลำบากอยู่เหมือนกันการประชาสัมพันธ์หรือการชักชวนจึงมีความสำคัญ และบ่อยครั้งที่พอเอ่ยถึงเรื่องบัญชีหลายคนจะเบือนหน้าหนีพอจะพูดหรือบรรยายเรื่องบัญชีหลายคนในห้องก็เริ่มง่วงแล้ว ดังนั้นเทคนิคและจิตวิทยาในการนำเสนอต่าง ๆ ที่เราพอจะได้ศึกษามาก็ต้องถูกนำมาใช้ และที่สำคัญที่สุดก็คงเป็นตัวนำเสนอคือนักบัญชีเอง เพราะโดยบุคลิกแล้วนักบัญชียังไม่มีความถนัดในเรื่องนี้ บางคนพอรู้ว่าจะต้องออกมานำเสนอก็สั่นแล้ว นักบัญชีจึงควรฝึกฝนเรียนรู้วิธีการนำเสนอ เพื่อให้ความเชื่อมั่น และสร้างความเชื่อถือต่อผู้เข้าฟัง

          จะเห็นได้ว่านักบัญชียุคใหม่ ต้องไม่เป็นผู้ยึดมั่นในทฤษฎีมากจนเกินไป เพราะตั้งแต่วันแรกที่เราเรียนรู้ถึงบัญชีมันก้ต้องบอกถึงความที่ต้องเท่ากัน ต้องตรงกันตาทฤษฎีบัญชีแล้วซึ่งที่จริงแล้วการที่จะต้องเท่ากันหรือตรงกันก็มีอยู่หลายวิธีแต่บัญชีก็คือบัญชีเดบิตต้องเท่ากับเครดิตเท่านี้เป็นใช้ได้ ถ้านักบัญชียืดหยุ่นได้เสมือนลูกบอลกลม ๆ กลิ้งไปมาได้ไม่ใช่รูปสี่เหลี่ยมที่อยู่แต่ในกรอบเท่านั้น ก็สามารถจะเป็นนักบัญชียุคใหม่ที่ดีได้คือเป็นนักบัญชีที่มีความรู้ต่าง ๆ ทั้งงานบัญชี กฎหมายภาษี การตลาด การผลิต จิตวิทยา และคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะมีเครื่องมือ และรู้ถึงเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งที่มีอยู่ และจะพัฒนาขึ้น ตลอดจนเทคนิคการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เป็นนักบัญชีที่สนใจในสิ่งที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับงานหรือไม่ เพื่อให้เกิดความรอบรู้ในทางอื่นเพิ่มขึ้นเก็บรวบรวมสิ่งดีสิ่งใหม่ เพื่อนำมาประกอบใช้ในการทำงาน เพื่อเข้าร่วมกับหน่วยงานอื่นหรือสังคมได้มากขึ้นไม่สันโดษห่างไกลผู้อื่น เป็นนักบัญชีที่วางแผนและมองการณ์ไกล ซึ่งเสมือนกับมีเครื่องนำทางไว้ใช้ในการเดินทาง ก็ไม่มองทางอย่างแคบ ๆ หรือมองแค่ตรงหน้าต้องกล้าเดากล้าเสี่ยง แต่ต้องไม่ให้เกิดปัญหาอันใหญ่หลวงในวันหน้า และเมื่อเรามีความรู้ความสามารถ เป็นนักบัญชียุคใหม่แล้ว เราก็ต้องกล้าแสดงออกนำเสนอให้ฝ่ายต่าง ๆ ได้เห็นข้อเท็จจริงที่นักบัญชีมองเห็น โดยใช้วิธีผสมผสานทุกอย่างให้เหมาะสม ซึ่งผันแปรไปตามสภาพต่าง ๆ ของแต่ละท่าน แต่ละองค์กร วิธีการเดียวกันอาจจะเหมาะที่จะใช้กับองค์กรหนึ่งอาจจะไม่เหมาะสมที่จะนำไปให้ในอีกองค์กรหนึ่ง นักบัญชีจึงต้องรู้จัก “หนัก เบา เร็ว ช้า ” ตามคำกล่าวของผู้ใหญ่ที่ท่านได้สอนไว้

          นักบัญชีรุ่นใหม่นั้นไม่ใช่นักบัญชียุคใหม่ เพราะนักบัญชีรุ่นใหม่ที่ทำตัวเป็นนักบัญชียุคเก่าก็มีไม่น้อย การที่จะเป็นนักบัญชียุคใหม่ได้ดี ก็คงต้องเป็นผู้มีความรอบรู้หลายด้านมีความคล่องตัว รู้จักยืดหยุ่น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นทุนในการทำงานในงานบัญชีด้วย

โปรแกรมบัญชีสำหรับผุ้ที่ใช้มากที่สุด

ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ลดการซ้ำซ้อน
ด้วย โปรแกรมบัญชี CD Organizer จะช่วยให้การทำงานลดความซ้ำซ้อนไปได้เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น
  • เมื่อป้อน บิลขาย ด้วย โปรแกรมบัญชี CD Organizer แทนการพิมพ์ดีดด้วยมือ ผลที่จะได้ตามมาโดย อัตโนมัติ คือ
    - ได้ใบบิล/ใบส่งของ ที่สะอาด ปราศจากการ ลบ/ขีด/แก้ไข
    - ได้รายงานภาษีขาย ส่งสรรพากร
    - ได้การ์ดลูกหนี้ / ระบบติดตามหนี้
    - ได้การ์ดสต็อกสินค้า
    - พิมพ์ใบวางบิล ได้โดยอัตโนมัติ
    - รายงานสรุปยอดขายเพื่อไป ช่วยคิด คอมมิชชั่น
  • เช่นเดียวกัน เมื่อป้อน ซื้อสินค้า ด้วยโปรแกรมบัญชี ผลที่จะได้ตามมาโดยอัตโนมัติ คือ
    - ได้รายงานภาษีซื้อ ส่งสรรพากร
    - ได้การ์ดเจ้าหนี้
    - ได้การ์ดสต็อกสินค้า
    - พิมพ์ใบรับบิล ได้โดยอัตโนมัติ
  • และเมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้ มาชำระเงิน ด้วยโปรแกรมบัญชี ผลที่จะได้ตามมาโดยอัตโนมัติ คือ
    - ได้การ์ดลูกหนี้ โดยสมบูรณ์
    - หากชำระเป็นเช็ค ก็จะทำทะเบียนเช็ครับ เพื่อคุมเช็คและนำเข้าธนาคาร
    - รายงานสรุปยอดเก็บเงินเพื่อไป ช่วยคิด คอมมิชชั่น
  • และเมื่อถึงกำหนดชำระ ชำระเงินให้เจ้าหนี้ ด้วยโปรแกรมบัญชี ผลที่จะได้ตามมาโดยอัตโนมัติ คือ
    - ได้การ์ดเจ้าหนี้ โดยสมบูรณ์
    - ทำประมาณการเงินสด จากเงินที่จะได้รับ/จ่าย ในอนาคต
    - หากชำระเป็นเช็ค ก็จะทำทะเบียนเช็คจ่าย เพื่อคุมเช็คและนำเข้าธนาคาร
    - ได้รายงานภาษีหัก ณ. ที่จ่าย ส่งสรรพากร
  • จากการป้อนรายการดังกล่าว โปรแกรมบัญชี CD Organizer จะทำการลงบัญชี DR, CR ให้อัตโนมัติ
    - ลงสมุดบัญชีรายวัน
    - ลงบัญชีแยกประเภท
    - ทำงบกำไร-ขาดทุน
    - ทำงบดุล, งบทดลอง ให้โดยอัตโนมัติ
ทั้งหมดนี้ เป็นการยกตัวอย่างพอสังเขป หากเป็นธุรกิจที่ซับซ้อน ระบบก็จะสามารถที่จะกำหนดวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับการทำงานนั้นๆ ได้ เชิญพิสูจน์และชมการสาธิต ได้ฟรี ถึงสถานที่


วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การบัญชีบริหาร

การบัญชีบริหาร คือ กระบวนการทางบัญชีที่มุ่งไปในส่วนของการนำข้อมูลทางบัญชีการเงิน และบัญชีต้นทุน มาทำการวิเคราะห์ และแปลความหมายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหาร ทั้งในด้านการวางแผน การควบคุม การประเมินและวัดผลการดำเนินงานของบุคคลในองค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร แต่โดยส่วนใหญ่ข้อมูลที่มีบทบาทสำคัญต่อการบริหารกิจการก็คือ ข้อมูลทางด้านต้นทุน (Cost Information) ดังนั้น จึงทำให้เกิดความเข้าใจโดยทั่วไปว่าการบัญชีบริหารก็คือการบัญชีต้นทุน แต่ในทางหลักการที่ถูกต้องแล้วการบัญชีต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชีบริหารเท่านั้น ซึ่งความสัมพันธ์ของการบัญชีการเงิน การบัญชีต้นทุน และการบัญชีบริหาร




วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หลักการบัญชี 7

เกี่ยวกับงบการเงิน
ข้อมูลทางบัญชีมีประโยชน์ต่อบุคคลทั้งหลายฝ่ายด้วยกัน และจะมีประโยชน์กว้างขวางมากขึ้นในอนาคต เมื่อธุรกิจขยายใหญ่โตขึ้น ผู้ที่มีส่วนได้เสียจะเพิ่มมากขึ้น ผู้บริหารย่อมจะต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินเพื่อทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและเพื่อนำมาใช้วางแผนในอนาคตนอกจากนั้นผู้บริหารจะต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินเพื่อที่บผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและเพื่อนำมาใช้วางแผนในอนาคตนอกจากนั้นผู้ทำบัญชีต้องการทราบฐานะทางการเงินของกิจการให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นซึ่งต้องการทราบฐานะของกิจการและประเมินประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้บริหาร เจ้าหนี้ผู้ซึ่งต้องการทราบความสามารถในการชำระเงินของลูกหนี้ของกิจการ รัฐบาลต้องการทราบข้อมูลเพื่อควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายและเพื่อเก็บภาษี เป็นต้น ถ้าผู้บริหารต้องจัดทำงบการเงินแต่ละชุดเพื่อสนองความต้องการของบุคคลแต่ละฝ่ายย่อมทำให้เกิดความสับสนในความเชื่อถือได้ของข้อมูล เพราะผู้ใช้งบการเงินอาจเกิดความไม่แน่ใจว่างบการเงินชุดใดจะตรงตามวัตถุประสงค์ของตน อาจจะต้องของบการเงินที่ทุกชุดมาประกอบการพิจารณาก็เป็นได้ ดังนั้นโดยหลักการการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปแล้ว งบการเงินที่เสนอต่อบุคคลภายนอกจึงทำขึ้นชุดเดียว เพื่อนำไปใช้สนองความต้องการของบุคคลภายนอกทุกฝ่าย งบการเงินจึงเป็นข้อมูลทางการเงินที่สำคัญที่สุดที่ทุกฝ่ายจะได้นำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน
การจัดทำรายงานทางการบัญชีแสดงข้อมูล ซึ่งเป็นผลมาจากการประกอบธุรกิจของหน่วยงานต่างๆ ที่สำคัญๆ อาจจัดเป็นงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วยงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน
แผนภาพแสดงถึงการไหลของรายการค้าไปสู่งบการเงิน
งบการเงินแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. งบดุล (Balance Sheet)
2. งบกำไรขาดทุน (Income Statement)
3. งบกำไรสะสม (Statement of Retained Earnings)
4. งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flows)
5. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในของผู้ถือหุ้น (Statement of Changer in Sharaholders’ Equity)
ที่มา : ผจงศักดิ์ หมวดสง.หลักการบัญชี.กรุงเทพ,มหาวิทยาลับศรีนครินทร์วิโรฒ

หลักการบัญชี 6

การรับรู้องค์ประกอบของงบการเงิน
การรับรู้รายการ หมายถึง การรวมรายการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบดุลและงบกำไรขาดทุนหากรายการนั้นเป็นไปตามนิยามขององค์ประกอบและเข้าเกณฑ์การรัยรู้รายการ ซึ่งรับรู้รายการเมื่อเข้าเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้
1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการดังกล่าวจะเข้าหรือออกจากกิจการ
2. รายการดังกว่ามีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
เงื่อนไขข้อแรก “ความน่าจะเป็นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต”
เกณฑ์การับรู้รายการข้อแรกนี้เป็นการพิจารณาถึงความน่าจะเป็นของระดับความแน่นอนที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการค้าจะเข้าหรือออกจากกิจการ โดยระดับความแน่นอนแบ่งเป็น ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ (Prob < 50%) ความเป็นไปได้พอสมควร (Prob = 50%) และความไม่น่าจะเป็นไปได้ (Prob > 50%) และเมื่อรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีนั้น มีความน่าจะเป็นสูงระดับ ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่รายการดังกล่าวถือว่าเข้าเงื่อนไขข้อแรก
เงื่อนไขข้อสอง “ความเชื่อถือได้ของการวัดมูลค่า”
เมื่อผ่านเงื่อนไขข้อแรกแล้ว ต้องพิจารณาเงื่อนไขข้อที่สองว่ากิจการสามารถที่จะวัดราคาทุนหรือมูลค่าของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือหรือไม่ เมื่อรายการดังกล่าวเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อแล้ว กิจการต้องรับรู้รายการในงบการเงิน แต่กรณีถ้ารายการเป็นไปตามคำนิยามขององค์ประกอบของงบการเงินแต่ไม่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ กิจการควรเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินหรืออธิบายเพิ่มเติม หากรายการนั่นเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
หลักการรับรู้รายการในงบดุลและงบกำไรขาดทุน
การรับรู้สินทรัพย์
1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจะเข้าสู่กิจการและ
2. สินทรัพย์นั้นมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
การรับรู้หนี้สิน
1. มีความเป็นได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรจะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบันและ
2. มูลค่าของภาระผูกพันที่ต้องชำระนั้นสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
การรับรู้รายได้
1. เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือ
2. การลดลงของหนี้สิน และ
3. สามารถวัดมูลค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ
การรับรู้ค่าใช้จ่าย
1. เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์หรือ
2. การเพิ่มขึ้นของกนี้สิน และ
3. สามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ
ที่มา : สุชาติ เหล่าปรีดา.หลักการบัญชี 1 .กรุงงเทพฯ:สนพ.มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2546

หลักการบัญชี 5

การวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน
การวัดมูลค่า คือ การกำหนดจำนวนที่เป็นตัวเงินเพื่อรับรู้องค์ประกอบของงบการเงินในงบดุลและงบกำไรขาดทุน การวัดมูลค่าจะเกี่ยวข้องกับการเลือกใช้เกณฑ์ในการวัดค่าต่างๆ ในสัดส่วนที่แตกต่างกันในลักษณะที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเกณฑ์ในการวัดค่าต่างๆ มีดังต่อไปนี้
1. ราคาทุนเดิน (Histotical Cost) หมายถึง
1.1 การบันทึกสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จ่ายไป หรือ
1.2 บันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งที่นำไปแลกสินทรัพย์มา ณ เวลาที่ได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้น
1.3 การบันทึกหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่ได้รับจากการก่อภาระผูกพันหรือ
1.4 บันทึกด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
2. ราคาทุนปัจจุบัน หมายถึง
2.1 การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องจ่ายในขณะนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ชนิดเดียวกันหรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน
2.2 การแสดงหนี้สินด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องใช้ชำระผูกพันในขณะนั้น
3. มูลค่าที่จะได้รับ หมายถึง
3.1 การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่อาจได้มาในขณะนั้นหากกิจการขาย
สินทรัพย์โดยใช่การบังคับขาย
3.2 การแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าที่ต้องจ่ายคืนหรือด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้อง
จ่ายเพื่อชำระหนี้กินที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ
4. มูลค่าปัจจุบัน หมายถึง
4.1 การแสดงสินทรัพย์ด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิในอนาคตซึ่งคาดว่าจะได้รับในการ
ดำเนินงานตามปกติของกิจการและ
4.2 การแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายสุทธิซึ่งคาดว่าจะต้องจ่ายในการชำระเงินสินภายใต้
การดำเนินงานตามปกติของกิจการ
แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน
ทฤษฏีแนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน เป็นแนวคิกทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งแม่บทการบัญชีนำมาใช้เป็นแนวทางในการ วัดผลกำไร โดยพิจารณาส่วนของทุนของกิจการ
1. แนวคิดเกี่ยวกับทุน
แนวคิดเกี่ยวกับทุนเป็น แนวคิดทางการเงิน ที่ใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบันและ แนวคิดทางการผลิต ซึ่งทั้ง 2 แนวคิดถูกใช้เป็นแนวทางในการจัดการงบการเงิน โดยนำแนวคิดเกี่ยงกับทุนที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดทำงบการเงิน โดยคำนึงความต้องการของผู้ใช้งบการเงินเป็นหลัก โดย
แนวคิดที่กิจการควรนำมาใช้
เมื่อผู้ใช้งบการเงินให้ความสนใจเกี่ยวกับ
1. แนวคิดทางการเงิน
1. การรักษาระดับของทุนที่ลงไปในรูปของตัวเงินหรือในรูปของอำนาจซื้อ
2. แนวคิดทางการผลิต
2. กำลังการผลิตที่กิจการสามารถใช้ในการผลิต
2. แนวคิดเกี่ยวกับการรักษาระดับทุนและการวัดผลกำไร
แนวคิดเกี่ยวกับการรักษาระดับทุนให้ความสำคัญ คำนิยามที่กิจการกำหนดเกี่ยวกับทุนที่กิจการต้องการรักษาระดับ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงแนวคิดเกี่ยวกับทุนกับกำไรเพื่อกำหนดจุดอ้างอิงในการวัดผลกำไร ซึ่งแนวคิดนี้ใช้เป็นพื้นฐานในการจำแนกความแตกต่างระหว่าง
2.1 ผลตอบแทนจากการลงทุน (ซึ่งเป็นผลตอบแทนเกินทุนที่ลงไป)
2.2 ผลที่ได้รับจากเงินลงทุน (ซึ่งเป็นผลที่ได้รับไม่ว่าจะเกินทุนหรือไม่)
ซึ่งแนวคิดนี้กำหนดว่า กำไร คือ การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์เฉพาะส่วนที่เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเป็นในการรักษาระดับทุนซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนจากการลงทุน ดังนั้น
กำไร คือ จำนวนคงเหลือจากรายได้หักค่าใช้จ่าย (ซึ่งรวมรายการปรับปรุงเพื่อรักษาระดับทุนตามที่ควร)
ขาดทุน คือ จำนวนคงเหลือหากค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ (ซึ่งรวมรายการปรับปรุงเพื่อรักษาระดับทุน)