วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับการบัญญชี เรื่องที่1

สถาบันทางวิชาชีพที่มีบทบาทต่อการพัฒนาข้อมูลทางบัญชี
การพัฒนาข้อมูลทางบัญชี เพื่อการตัดสินใจนั้นนอกจากจะได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของธุรกิจและเทคนิคในการประยุกต์ใช้บริการแต่ละองค์การแล้ว ยังมีสถาบันหรือหน่วยงานทางวิชาชีพอีกส่วนหนึ่งที่มีหน้าที่และบทบาทโดยตรงต่อการพัฒนาข้อมูลทางบัญชีในเชิงวิชาการ เพื่อให้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการตัดสินใจเป็นข้อมูลที่ทันสมัยเชื่อถือได้ และช่วยให้บริการสามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจได้อย่างแห้จริง สถาบันทาววิชาชีพที่ควรรู้ก็คือ
1.สมาคมนักบัญชีนานาชาติ (National Association of Accountants) หรือที่ใช้ตัวย่อยว่า “NAA” สมาคมแห้งนี้ได้ถูกก่อตั้งในปี 8.L. 1919 (พ.ศ. 2462) โดยในระยะแรกได้ใช้ชื่อว่า “สมคมนักบัญชีต้นทุนนานาชาติ” (National Association of Cost Accountants) จึงทำให้สถาบันแห้งนี้มีบทบาทต่อการพัฒนาข้อมูลทางบัญชีต้นทุนและบัญชีเพื่อการจัดการ ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน ในการดำเนินงานของสมมาคมได้มีการจัดทำวารสารที่มีชื่อเสียงทางด้านบัญชีต้นทุน และบัญชีเพื่อการจัดการ โดยใช้ชื่อว่า “Management Accounting” ซึ่งจะเสนอบทความที่เขียนโดยสมาชิกของ NAA ที่มีประสบการณ์ในหน่วยงานธุรกิจ และอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังจัดให้มีการเสนอโครงการวิจัยเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการทางบัญชีต้นทุน และการวิเคราะห์ทางบัญชีเพื่อการจัดการให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการใช้ข้อมูลทางบัญชีต้นทุน โดยให้เป็นหน้าที่ของคณะทำงานที่มีชื่อว่า “NAA Research Studies” ในปี ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) NAA ได้ทำการก่อตั้ง “สถาบันทางบัญชีเพื่อการขัดการ (Institute of Management Accounting) ใช้ชื่อย่อ “IMA” ให้รับผิดชอบโดยตรงต่อการพัฒนาการบัญชีต้นทุนและบัญชีเพื่อการจัดการ โดยให้มีหน้าที่ออกใบอนุญาตให้แก่นักบัญชีบริหารที่ผ่านการทดสอบเช่นเดียวกับผุ้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ของสถาบัน AICPA ซึ่งผู้ที่ผ่านการทดสอบทางบัญชีเพื่อการจัดการนี้จะเรียกว่า “Certificate in Management Accounting (CMA)”
2. สถาบันผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งอเมริกา (American Insitute Of Certified Public Accountants) โดยมีชื่อย่อว่า “AICPA” เป็นสถาบันที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและพัฒนาหลักการบัญชีเพื่อให้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป (GAAP) โดยสถาบันจะเป็นผู้ที่ทำการทดสอบเพื่อการออกบัญชีรับอนุญาต (CPA) นอกจากนี้ผลงานอีกอันหนึ่งที่มีชื่อเสียงของ CICPA ก็คือ การออกวารสารรายเดือนที่ชื่อว่า “journal of Accountancy” ถึงแม้ว่าวารสารนี้จะเน้นหนักไปทางด้านหลักการบัญชีทั่วไป
3. สมาคมการบัญชีแห่งอเมริกา (American Accounting Association) โดยใช้ชื่อย่อว่า “AAA” เป็นสมาคมที่ก่อตั้งขึ้นโดยบรรดาคณาจารย์ทางการบัญชีจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1916 (พ.ศ. 2459) โดยผลงานที่สำคัญของสมาคม คือช่วยพัฒนาและส่งเสริมทางด้านทฤษฎีและวิธีการปฏิบัติทางการบัญชี ไม่ว่าจะเป็นบัญชีการเงิน บัญชีต้นทุน บัญชีเพื่อการจัดการ ละอื่นๆ นอกจากนี้สมาคมยังได้ออกวารสารที่ทำหน้าที่เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับวิชาการบัญชีต่างๆ ในเชิญทฤษฎีที่ชื่อว่า “The Accounting Review”
4. สหพันธ์นักบัญชีอาเซียน (ASEAN Federation of Accountants) หรือมีชื่อย่อว่า “AFA” โดยหน่วยงานนี้ได้ถูกตั้งขึ้นมาจากความร่วมมือของสมาคมนักบัญชีในประเทศอาเวียนในปี ค.ศ. 2519 ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 6 ประเทศ คือ อินโดเนียเซีย มาเลเซีย ฟิลิบปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และประเทศไทย วัตถุประสงค์ที่สำคัญของสหพันธ์ก็คือ การมุ่งพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพนักบัญชีใน๓ภาคอาเซียนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเป็นที่ยอมรับของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
5. คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างชาติ (International Accounting Standards Committee) หรือชื่อว่า “IASC” ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1973 โดยผู้แทนนักบัญชีจากสถาบันวิชาชีพใน 9 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย แคนนาดา ผรั่งเศล เยอรมัน เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะจัดวางและเผยแร่มาตรฐานการบัญชี เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน รวมทั่งมุ่งส่งเสริมให้มีการยอมรับและปฏิบัติตามมาตรฐานนั้นในระดับสากล สำหรับมาตรฐานการบัญชีของประเทศไทยหลายฉบับก็มีลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีนานาชาติ (IAS) คณะกรรมการชุดนี้ด้วย
6. สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2491 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสงเสริม และสนับสนุนให้การปฏิบัติวิธีการทางบัญชีในประเทศไทยให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับหลักการบัญชีที่ยอมรับทั่วไปในระดับนานาชาติ นอกจากนี้สมาคมได้มีการออกวารสาร “นักบัญชี” ที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการแสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการในการพัฒนาข้อมูลทางบัญชี โดยสมาคมได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการในหลายด้านและทำหน้าที่ต่างๆ กัน เช่น คณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ทางการบัญชี คณะอนุกรรมการด้านบัญชีเพื่อการจัดการ คณะอนุกรรมการด้านการสอบบัญชี เป็นต้น นอกจากนี้สมาคมยังได้เข้าไปมีส่วนร่วมและมีบทบาทในการประชุมนักบัญชีนานาชาติ เช่น การประชุม สหพันธ์นักบัญชีอาเซียน (AFA) และการประชุมนักบัญชีเอเชียและแปซิกฟิก (Conference of Asian and Pacific Accountants = CAPA)
7. คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ โดยทำหน้าที่ในการออกข้อบังคับ กฎเกณฑ์ และข้อกำหนด ในการออกใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีให้แก่นักบัญชีที่ต้องการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเหล่านี้ก็จะทำหน้าที่ตรวจสอบรายข้อมูลทางการบัญชีของธุรกิจให้มีความถูกต้องตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไป ก่อนที่ธุรกิจเหล่านั้นจะนำข้อมูลทางการบัญชีมาให้เป็นหลักฐานแสดงจำนวนที่ควรจะเสียภาษีให้แก่รัฐ หรือเพื่อเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไปในการใช้ข้อมูลที่ถุกต้องเพื่อการตัดสินใจ
8. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Stock Exchange of Thailand) หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อ “SET” ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศไทยด้วยเหตุนี้การเสนอข้อมูลทางการเงินของกิจการต่างๆ ที่จะเข้ามาเป็นบริษัทจดทะเบียน (บริษัทจดทะเบียนหมายถึง บริษัทที่ต้องการนำหลักทรัพย์ หุ้น ทุน ของตนเองเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์) จึงควรที่จะมีมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้นักลงทุนได้ใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและเที่ยงธรรม ด้วยเหตุนี้ตลาดหลักทรัพย์จึงถือเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่เข้ามีบทบาทต่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชีในประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานย่อยๆ อีกมากมายที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาข้อมูลทางบัญชี ซึ่งนับว่าเป็นการดีต่อการพัฒนา และส่งเสริมให้ผู้บริหารเห็นความสำคัญต่อการที่จะนำข้อมูลทางการบัญชีไปใช้ประโยชน์เพื่อการตัดสินใจในการบริหารธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น