คือ รายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อฐานะการเงินของกิจการ ณ ขณะใดขณะหนึ่งโดยทั่วไปจะแสดงข้อมูลสิ้นสุดวันใดวันหนึ่ง โดยจะแสดงถึงข้อมูลต่างๆ ดังนี้ 1. ทรัพยากรต่างๆ ที่กิจการเป็นเจ้าของหรือมีอยู่ มีจำนวนเท่าใด ประกอบด้วยอะไรบ้าง 2. ภาระผูกพันต่อบุคคลภายนอกมีจำนวนเท่าใด ประกอบด้วยอะไรบ้าง 3. ส่วนของเจ้าของกิจการมีจำนวนเท่าใด ประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งงบดุลจะประกอบไปด้วย 1.สินทรัพย์ 2.หนี้สิน 3.ส่วนของเจ้าของหรือส่วนของผู้ถือหุ้น งบดุลมีรูปแบบอยู่ 2 แบบคือ 1. แบบบัญชี (Account Form) เป็นรูปแบบที่รายงานสินทรัพย์ไว้ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาเป็นข้อมูลหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ตัวอย่าง ![]() ให้สังเกตว่างบดุลข้างต้นนี้จะแสดงชื่อกิจการ ชื่อของรายงาน และวันที่ของงบดุล โดยแสดงสินทรัพย์ 600,000 ไว้ด้านหนึ่ง หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นไว้ด้านหนึ่งรวม 600,00 เท่ากันไว้อีกด้านหนึ่ง งบดุลอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า งบแสดงฐานะการเงิน 2. แบบรายงาน (Report form) เป็นรูปแบบที่รายงานสินทรัพย์อยู่ส่วนบน สำหรับหนี้สินและส่วนของเจ้าของไว้ส่วนล่างของรายงาน ![]() ![]() สำหรับหมวดหมู่ในงบดุล ผู้ทำรายการจะต้องรู้จัก ความหมายของแต่ละหมวดหมู่ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ 1. สินทรัพย์ คือ สิทธิและทรัพยากรที่กิจการมีอยู่ ซึ่งเกิดจากการประกอบการ และสามารถแสดงเป็นตัวเงิน สามารถที่จะให้ประโยชน์ในอนาคต ซึ่งแบ่งออกเป็น - สินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์อื่นๆที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลา 1 ปี หรือ1 รอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร ลุกหนี้ที่สามรารถชำระภายในรอบระยะเวลาบัญชี สินค้าคงเหลือ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายล่วงหน้าอื่นๆ เช่นค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปีหรือ 1รอบระยะบัญชีของกิจการ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามาก และมีความถาวร เช่น อาคาร ที่ดิน รวมไปถึงเงินลงทุนในบริษัทอื่นๆ ที่ลงทุนในระยะยาว การจัดเรียงสินทรัพย์ในงบดุล หลักการโดยทั่วไปในการจัดลำดับก่อนและหลังนี้ พิจารณาการจัดลำดับของสภาพคล่องตัวที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสด (Liquid) ได้ง่ายที่สุดไว้เป็นอันดับแรก แล้วจึงตามด้วยสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสดน้องกว่าไปตามลำดับ 2. หนี้สิน คือ พันธะผูกพันที่บุคคลภายนอกได้แก่เจ้าหนี้มีต่อกิจการอันเกิดจากรายการทางธุรกิจ การกู้ยืมหรือจากเหตุการณ์อื่นๆ ที่จะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์หรือบริการ ตัวอย่างของหนี้สินของหนี้สิน เช่น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้เงินกู้ ตั๋วเงินจ่าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ - หนี้สินหมุนเวียน คือ พันธะผูกพันที่ต้องมีการจ่ายชำระคืนแก่เจ้าหนี้ไม่เกิน 1 ปี หรือในรอบระยะเวลาการปฏิบัติงานตามปกติของกิจการ เช่นเจ้าหนี้ทางการค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย - หนี้สินระยะยาว คือ หนี้สินที่มีกำหนดชำระมากกว่า 1 ปี หรือเกินกว่าระยะเวลาการปฏิบัติงานตามปกติของกิจการ เช่น หุ้นกู้ เงินกู้ระยะยาว+ การจัดเรียงในงบดุลนั้น ให้ใช้ระยะเวลาการชำระคืนก่อนหลังเป็นเกณฑ์ในการติดสิน ในการแสดงรายการในงบดุล ห้ามมิให้นำสินทรัพย์หมุนเวียนไปหักลบกับหนี้สินหมันเวียน 3. ส่วนของเจ้าของหรือส่วนของผู้ถือหุ้น คือ สิทธิเรียกร้องหรือส่วนได้เสียที่เจ้าของมีอยู่เหนือสินทรัพย์ หลังจากได้หักสิทธิเรียกร้องที่เป็นของเจ้าหนี้ออกไปแล้ว หรือกล่าวได้ว่าคือสินทรัพย์สุทธิ หรือส่วนที่สินทรัพย์มากกว่าหนี้สิน (สินทรัพย์ – หนี้สิน = ส่วนของเจ้าของ) ส่วนของเจ้าของนี้ถ้าธุรกิจเป็นบริษัท จำกัด เรียกว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น |
วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555
หลักการบัญชี 1
งบดุล (Balance Sheet) หรือ งบแสดงฐานะการเงิน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น