วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับการบัญชี เรื่องที่2

ลักษณะคุณภาพของงบการเงิน
ลักษณะคุณภาพของงบการเงิน ลักษณะคุณภาพ หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน ลักษณะเชิงคุณภาพของงบงานเงินมี 4 ประการ ดังนี้
1. ความเข้าใจได้ หมายถึง ข้อมูลในงบการเงินต้องสามารถทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจได้ทันที
2. ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ขึ้นอยู่กับลักษณะและความมีนัยสำคัญของข้อมูล กล่าวคือข้อมูลในงบการเงินต้องมีประโยชน์เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน โดยข้อมูลนั้นต้องช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ รวมทั้งช่วยยืนยันหรือชี้ข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณและโครงสร้างของสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่ในปัจจุบัน จะช่วยให้ผุ้ใช้งบการเงินสามารถควาดคะเนถึงความสามารถของกิจการในการรับประโยชน์จากโอกาศใหม่ๆ รวมทั้งช่วยยืนยันความถูกต้องของการคาดคะเนในอดีตที่เกี่ยวกับโครงสร้างของกิจการและผลการนำเนินงานตามที่ว่างแผนไว้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในอดีตของกิจการ สามารถใช้ในการคาดคะเนถึงฐานะการเงินการดำเนินงานในอนาคตเป็นต้น
3. ความเชื่อถือได้ หมายถึง ข้อมูลในงบการเงินต้องเป็นข้อมูลที่มีความเชื่อถือได้ โดยปราศจากความผิดพลาดที่มีสาระสำคัญ เป็นข้อมูลที่มีความเที่ยงธรรม มีความเป็นกลางโดยปราศจากความลำเอียง และมีความครบถ้วนสมบูรณ์ในสาระสำคัญที่จะไม่ทำให้ผุ้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด และตัดสินใจผิดพลาด ความเชื่อถือได้ของงบการเงินประกอบด้วย
3.1 การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม หมายถึง รายการและเหตุผลทางบัญชี ได้แสดงอย่างเที่ยงธรรมในงบการเงินตามที่ควรแสดง นั้นคือ งบดุลควรแสดงสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ เฉพาะรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เข้าเกณการรับรู้ ณ วันที่เสนอรายงาน
3.2 เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ หมายถึง ข้อมูลต้องบันทึกและแสดงตามเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ มิไช่ตามรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว
3.3 ความเป็นกลาง หมายถึง ข้อมูลที่แสดงในงบการเงิน ต้องมีความน่าเชื่อถือหรือปราศจากความลำเอียง
3.4 ความระมัดระวัง หมายถึง การใช้ดุลยพินิจในการจัดทำงบการเงินเกี่ยวกับการประมาณการภายใต้ความไม่แน่นอน เพื่อให้สินทรัพย์หรือรายได้แสดงจำนวนสุงเกินไป และหนี้สินหรือค่าใช้จ่ายแสดงจำนวนต่ำเกินไป เช่น ความสามารถในการเก็บหนี้ การประมาณอายุการใช้งานของสินทรัพย์ที่มีตัวตนเป็นต้น
3.5 ความครบถ้วน หมายถึง ข้อมูลที่เชื่อได้ต้องครบถ้วน ภายใต้ข้อจำกัดของความมีนัยสำคัญและต้นทุนในการจัดทำ
4. การเปรียบเทียบกันได้ หมายถึงข้อมูลในงบการเงินต้องสามารถนำมาเปรียบเทียบกันในระยะเวลาค่างกันได้ หรือเปรียบเทียบกับงบการเงินระหว่างกิจการได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเปรียบเทียบงบการเงินเพื่อประเมินฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการเอง หรือระหว่างกิการหนึ่งกับอีกกิจการหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องในเรื่องต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น