วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หลักการบัญชี 6

การรับรู้องค์ประกอบของงบการเงิน
การรับรู้รายการ หมายถึง การรวมรายการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบดุลและงบกำไรขาดทุนหากรายการนั้นเป็นไปตามนิยามขององค์ประกอบและเข้าเกณฑ์การรัยรู้รายการ ซึ่งรับรู้รายการเมื่อเข้าเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้
1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการดังกล่าวจะเข้าหรือออกจากกิจการ
2. รายการดังกว่ามีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
เงื่อนไขข้อแรก “ความน่าจะเป็นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต”
เกณฑ์การับรู้รายการข้อแรกนี้เป็นการพิจารณาถึงความน่าจะเป็นของระดับความแน่นอนที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการค้าจะเข้าหรือออกจากกิจการ โดยระดับความแน่นอนแบ่งเป็น ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ (Prob < 50%) ความเป็นไปได้พอสมควร (Prob = 50%) และความไม่น่าจะเป็นไปได้ (Prob > 50%) และเมื่อรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีนั้น มีความน่าจะเป็นสูงระดับ ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่รายการดังกล่าวถือว่าเข้าเงื่อนไขข้อแรก
เงื่อนไขข้อสอง “ความเชื่อถือได้ของการวัดมูลค่า”
เมื่อผ่านเงื่อนไขข้อแรกแล้ว ต้องพิจารณาเงื่อนไขข้อที่สองว่ากิจการสามารถที่จะวัดราคาทุนหรือมูลค่าของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือหรือไม่ เมื่อรายการดังกล่าวเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อแล้ว กิจการต้องรับรู้รายการในงบการเงิน แต่กรณีถ้ารายการเป็นไปตามคำนิยามขององค์ประกอบของงบการเงินแต่ไม่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ กิจการควรเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินหรืออธิบายเพิ่มเติม หากรายการนั่นเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
หลักการรับรู้รายการในงบดุลและงบกำไรขาดทุน
การรับรู้สินทรัพย์
1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจะเข้าสู่กิจการและ
2. สินทรัพย์นั้นมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
การรับรู้หนี้สิน
1. มีความเป็นได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรจะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบันและ
2. มูลค่าของภาระผูกพันที่ต้องชำระนั้นสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
การรับรู้รายได้
1. เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือ
2. การลดลงของหนี้สิน และ
3. สามารถวัดมูลค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ
การรับรู้ค่าใช้จ่าย
1. เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์หรือ
2. การเพิ่มขึ้นของกนี้สิน และ
3. สามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ
ที่มา : สุชาติ เหล่าปรีดา.หลักการบัญชี 1 .กรุงงเทพฯ:สนพ.มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2546

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น