วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หลักการบัญชี 7

เกี่ยวกับงบการเงิน
ข้อมูลทางบัญชีมีประโยชน์ต่อบุคคลทั้งหลายฝ่ายด้วยกัน และจะมีประโยชน์กว้างขวางมากขึ้นในอนาคต เมื่อธุรกิจขยายใหญ่โตขึ้น ผู้ที่มีส่วนได้เสียจะเพิ่มมากขึ้น ผู้บริหารย่อมจะต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินเพื่อทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและเพื่อนำมาใช้วางแผนในอนาคตนอกจากนั้นผู้บริหารจะต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินเพื่อที่บผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและเพื่อนำมาใช้วางแผนในอนาคตนอกจากนั้นผู้ทำบัญชีต้องการทราบฐานะทางการเงินของกิจการให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นซึ่งต้องการทราบฐานะของกิจการและประเมินประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้บริหาร เจ้าหนี้ผู้ซึ่งต้องการทราบความสามารถในการชำระเงินของลูกหนี้ของกิจการ รัฐบาลต้องการทราบข้อมูลเพื่อควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายและเพื่อเก็บภาษี เป็นต้น ถ้าผู้บริหารต้องจัดทำงบการเงินแต่ละชุดเพื่อสนองความต้องการของบุคคลแต่ละฝ่ายย่อมทำให้เกิดความสับสนในความเชื่อถือได้ของข้อมูล เพราะผู้ใช้งบการเงินอาจเกิดความไม่แน่ใจว่างบการเงินชุดใดจะตรงตามวัตถุประสงค์ของตน อาจจะต้องของบการเงินที่ทุกชุดมาประกอบการพิจารณาก็เป็นได้ ดังนั้นโดยหลักการการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปแล้ว งบการเงินที่เสนอต่อบุคคลภายนอกจึงทำขึ้นชุดเดียว เพื่อนำไปใช้สนองความต้องการของบุคคลภายนอกทุกฝ่าย งบการเงินจึงเป็นข้อมูลทางการเงินที่สำคัญที่สุดที่ทุกฝ่ายจะได้นำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน
การจัดทำรายงานทางการบัญชีแสดงข้อมูล ซึ่งเป็นผลมาจากการประกอบธุรกิจของหน่วยงานต่างๆ ที่สำคัญๆ อาจจัดเป็นงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วยงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน
แผนภาพแสดงถึงการไหลของรายการค้าไปสู่งบการเงิน
งบการเงินแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. งบดุล (Balance Sheet)
2. งบกำไรขาดทุน (Income Statement)
3. งบกำไรสะสม (Statement of Retained Earnings)
4. งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flows)
5. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในของผู้ถือหุ้น (Statement of Changer in Sharaholders’ Equity)
ที่มา : ผจงศักดิ์ หมวดสง.หลักการบัญชี.กรุงเทพ,มหาวิทยาลับศรีนครินทร์วิโรฒ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น