วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทิศทางใหม่… นักบัญชี...

ทิศทางใหม่… นักบัญชี...
รัญชิดา สังข์ดวง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ
                       ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจทวีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีส่วนทำให้ข้อมูลข่าวสารมีจำนวนมากและทำได้รวดเร็ว ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญต่อความอยู่รอดขององค์กรที่เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงาน นักบัญชีเป็นผู้จัดทำสารสนเทศทางบัญชี ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการตอบคำถามทางการเงิน ซึ่งจะช่วยให้ฝ่ายจัดการสามารถกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ของกิจการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จากสภาพดังกล่าว นักบัญชีถูกเรียกร้องให้เพิ่มพูนองค์ความรู้ต่าง ๆ คือ
                      1. การอ่านและวิเคราะห์งบกระแสเงินสด
                      2. ความรู้เรื่องตลาดเงิน ตลาดทุน และความเข้าใจในเศรษฐศาสตร์มหภาค
                                            2.1 นโยบายการเงินการคลัง
                                            2.2 การได้เปรียบคู่แข่งขัน
                                            2.3 การวิเคราะห์ทางการเงิน
                      3. เทคนิคของการวิเคราะห์งบประมาณลงทุน
                      4. การจัดหาเงินทุนระยะสั้น (สุวัจชัย เมฆะอำนวยชัย,2541 : 351 เอกสารประกอบการประชุมนักบัญชีทั่วประเทศ ครั้งที่ 16)
                      นอกจากนี้พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้มีการประกาศคุณสมบัติ และเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2543 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2543 ( รัตนา เธียรวิศิษฎ์สกุล : 2543. สรรพากรสาส์น, ตุลาคม ) กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีของบุคคลที่เป็นผู้ทำบัญชีตามที่กล่าวไว้ ดังนี้
คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี
                      ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
                      1.1 มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
                      1.2 มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้
                      1.3ไม่เคยต้องโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เนื่องจากได้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการบัญชี เว้นแต่พ้นระยะเวลาที่ถูกลงโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
                      1.4 (ก.) ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี
                      (ข.) ผู้ทำบัญชี ดังต่อไปนี้ ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี
                                            1) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่ง ณ วัน ปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียน หรือสินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมรายการใดรายการหนึ่งเกินกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ (ก)
                                            2) บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
                                            3) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
                                            4) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
                                            5) ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย
                                            6) ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
                      ทั้งนี้ หากผู้ใดเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าห้าปี แต่ไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่อธิบดีกำหนด หากประสงค์จะเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป ให้ผู้ทำบัญชีแจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งต้องยื่นภายในวันที่ 9 ตุลาคม 2543 และเมื่อผู้นั้นเข้ารับการอบรมและสำเร็จการอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนดแล้ว ให้ผู้นั้นเป็นผู้ทำบัญชีต่อไปได้เป็นเวลาแปดปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
                      นอกจากนี้ IFAC * มีความเห็นว่า นักบัญชีต้องมีการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความชำนาญทางวิชาชีพ สามารถนำความรู้มาประยุกต์กับงานได้ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้ใช้งานของนักบัญชี ดังนั้น ควรมีการกำหนดการศึกษาต่อเนื่องทางวิชาชีพ ประเทศไทยกำหนดในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ว่า " ผู้ทำบัญชีจะต้องเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีอย่างน้อยครั้งหนึ่งในทุกรอบสามปี จากสถาบันวิชาชีพบัญชีหรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด "
                      จากสภาพดังกล่าว จึงควรให้ความสนใจที่จะศึกษาถึงคุณลักษณะของผู้ทำบัญชีและเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ทำบัญชีให้เป็นไปอย่างชัดเจนละมีระบบแบบแผนในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น ดังนี้จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่หน่วยงานหรือองค์กรจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาสายงานบุคคลากรกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าบุคลากรทางด้านการบัญชีมีความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น