วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรื่องเก่ามาเล่าใหม่ (ความรู้ที่นักบัญชีความทราบ)

“พระราชบัญญัติการบัญชี” เมื่อหยิบยกขึ้นมาเชื่อรึเกินว่านักบัญชีทุกท่านคงผ่านตามาบ้างไม่มากก็น้อย เพื่อความเข้าใจในสายงานวิชาชีพบัญชี จึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจพระราชบัญญัติฉบับนี้

พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543  มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักบัญชีควรทราบถึงกฎหมายเกี่ยวข้องกับงานบัญชี ข้อกำหนด ระเบียบ คำสั่ง ประกาศของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกบัญชี การจัดทำงบการเงินหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัญชี ความรู้ที่นักบัญชีควรทราบ ในการจัดทำบัญชีของประเทศไทยนั้นได้ใช้กฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 เป็นเวลาค่อนข้างมาก และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมทะเบียนการค้า แต่ยังยึดคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 เป็นแม่บทของกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีจนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินธุรกิจหลายปีที่ผ่านมาอย่างรวดเร็ว ทำให้ประกาศของคณะปฏิบัติวัติฉบับที่ 285 ไม่สอดคล้องกับการจัดทำบัญชีของธุรกิจในภาวะปัจจุบัน ที่มีความก้าวหน้าในทางบัญชี ตลอดจนการจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการสากลยิ่งขึ้น “กระทรวงพาณิชย์จึงได้พิจารณาเห็นสมควรให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว โดยได้นำเสนอ “พระราชบัญญัติการบัญชี 2543” ออกมาใช้แทนภายใน 90 วันนักจากวันที่ลงประกาศในราชกิจานุเบกษา ซึ่งได้ลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 และมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไปสาระสำคัญของพระราชบัญญัตการบัญชี พ.ศ. 2543 มีดังต่อไปนี้

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ กฎหมายได้กำหนดให้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี จะเป็นผู้รับผิดชอบที่ต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนเอง ซึ่งผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ได้แก่
  1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
  2. บริษัทจำกัด
  3. บริษัทมหาชน
  4. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  5. กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
  6. ในกรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกัน ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
  7. ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ให้บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการนั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
  8. รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจให้บุคคลธรรมดาใด หรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนประกอบธุรกิจในประเทศไทยตามเงื่อนไขใด เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี โดยให้ประกาศล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือนก่อนวันใช้บังคับ
วันเริ่มทำบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี่ต้องจัดให้มีการทำบัญชีนับแต่วันเริ่มทำบัญชีดังต่อไปนี้
  1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้นได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
  2. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายตามประเทศนั้นได้เริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  3. กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ให้เริ่มทำบัญชีนับตั้งแต่วันที่กิจการร่วมค้านั้นได้เริ่มต้นประกอบกิจการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น